ประเภทของการประกันภัยรถยนต์
ประเภทของการประกันภัยรถยนต์
1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ. 2553)
พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 5 เมษายน 2535 กำหนดให้เจ้าของรถ / ผู้ใช้รถ ต้องมีประกันภัยเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถผู้ประสบภัย หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น
จำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย
– 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย
– 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร
– 200,000-300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการสูญเสียอวัยวะตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ฯ ข้อ3
– 200 บาท ต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน สำหรับการชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนใช้
** ในทั้งนี้จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดสำหรับ (1) (2) และ (3) รวมกันไม่เกิน 304,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภทของการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ภาคสมัครใจ ประเภท 1
กรมธรรม์ประเภท 1
จะได้รับความคุ้มครองมากที่สุด
1. ชีวิต/ร่างกาย/ทรัพย์สิน บุคคลภายนอก
2. ความเสียหายต่อรถผู้เอาประกันจากการชนรถหาย ไฟไหม้
3. บุคคลในรถ
ภาคสมัครใจ ประเภท 2
กรมธรรม์ประเภท 2 จะได้รับความคุ้มครอง คือ
1. ชีวิต/ร่างกาย/ ทรัพย์สินบุคคลภายนอก
2. รถหาย ไฟไหม้ (ตามทุน)
3. บุคคลในรถ
ภาคสมัครใจ ประเภท 2 บวก
กรมธรรม์ประเภท 5 (2 บวก) จะได้รับความคุ้มครอง คือ
1. ชีวิต/ร่างกาย/ทรัพย์สินบุคคลภายนอก
2. ความเสียหายต่อรถ ผู้เอาประกันจากการชนเฉพาะรถชนรถ รถหาย และไฟไหม้
3. บุคคลในรถ
**เคลมได้เฉพาะเหตุรถยนต์ชนรถยนต์ และต้องมีคู่กรณีอยู่ในที่เกิดเหตุเท่านั้น **
ภาคสมัครใจ ประเภท 3
กรมธรรม์ประเภท 3 จะได้รับความคุ้มครอง คือ
1. ชีวิต/ร่างกาย/ทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น
2. บุคคลในรถ
ภาคสมัครใจ ประเภท 3 บวก
กรมธรรม์ประเภท 3 บวก จะได้รับความคุ้มครอง คือ
1. ชีวิต/ร่างกาย/ทรัพย์สินบุคคลภายนอก
2. ความเสียหายต่อรถ ผู้เอาประกันจากการชนเฉพาะรถชนรถเท่านั้น
3. บุคคลในรถ
**เคลมได้เฉพาะเหตุรถยนต์ชนรถยนต์ และต้องมีคู่กรณีอยู่ในที่เกิดเหตุเท่านั้น **